“สัจจะ”

“วาย เจแปน” เป็นชื่อเดิมของเสื้อแตงโม
คุณอดิศร ผู้ก่อตั้งสงสัยว่า ทำไมในยุคนั้น (40 กว่าปีก่อน)
ใคร ๆ ก็เอาแต่ชื่นชมสินค้าญี่ปุ่น
(คนไทยจะทำได้บ้างไม่ได้เหรอ)
คุณอดิศร และคุณอมรา สองสามีภรรยาสร้างโรงงานผลิตเสื้อคุณภาพดี
ส่งออกต่างประเทศมาตลอด
จนวันหนึ่ง คุณอดิศรเห็นรุ่นน้องคนหนึ่งใส่เสื้อแบรนด์ดัง
รุ่นน้องบอกว่าซื้อตัวละ 70 เหรียญ
คุณอดิศรก็เจ็บใจ เพราะที่ตนเองเย็บให้แบรนด์เมืองนอก
นั้นส่งให้ตัวละ 7 เหรียญเท่านั้นเอง
นับจากวันนั้น ท่านตัดสินใจ “ไม่รับ” งานแบรนด์ต่างประเทศทั้งหมด
“ทำไมคนไทยจะใส่ของดีบ้างไม่ได้?”
แตงโมหันมามุ่งทำเสื้อผ้าคุณภาพดี
ด้วยเทคโนโลยีและวัตถุดิบที่ได้มาตรฐานระดับต่างประเทศ
มาทำเสื้อให้คนไทยสวมใส่ได้ ในราคาที่เอื้อมถึง
หากสังเกตดี ๆ เสื้อแตงโมแทบจะไม่ทำการตลาดเลย
ในช่วงสิบปีหลัง ก็ไม่ค่อยจำหน่ายในร้านค้าปลีกด้วย
“หากเข้าห้าง จ้างดารา คนที่เสียคือลูกค้า”
หมายความว่า หากขายสินค้าในห้าง
หรือจ้าง Influencer แพง ๆ
บริษัทจะมีต้นทุนที่สูงขึ้น
สุดท้าย ก็ต้องเพิ่มราคาเสื้อแทน
ซึ่งจะไม่ดีกับลูกค้า
แทนที่จะสื่อสารการตลาดแบบกว้าง ๆ
แตงโมค่อย ๆ อบรมพนักงานขาย
พาพนักงานมาดูว่า กว่าจะเย็บเสื้อแต่ละตัว ลำบากขนาดไหน
ค่อย ๆ ฝึก ค่อย ๆ สื่อสารให้พนักงานขายเข้าใจ
และภูมิใจในสินค้าที่เขากำลังจะขาย
ในการอบรมพนักงานขายหน้าใหม่
คุณอมรา จะไปพบทุกคนและเล่าถึงเรื่องราวของแตงโมเสมอ ๆ
พนักงานขายก็ดีใจว่า ครั้งหนึ่ง
ตนเองได้มีโอกาสเจอผู้บริหาร
เป็นความใส่ใจถึงพนักงานทุกระดับจริง ๆ
ในช่วงเริ่มทำธุรกิจ
คุณอดิศรเคยบอกพนักงานไว้ว่า
จะไม่ปลูกบ้านตนเอง จนกว่าพนักงานทุกคน (ในรุ่นบุกเบิก)
จะเก็บเงินจนสร้างบ้านตนเองได้
และท่านก็รักษาคำพูดเช่นนั้นจริง ๆ …
เมื่อพนักงานทุกคนปลูกบ้านได้สำเร็จ
ท่านถึงค่อยสร้างบ้านตนเอง ตรงที่ดินที่ติดกับโรงงาน
การตัดสินใจไม่รับงานจากแบรนด์ต่างประเทศ
ทำให้ท่านเสียโอกาสสร้างรายได้อย่างงาม
การตัดสินใจไม่ปลูกบ้านของตนเอง
ทั้ง ๆ ที่ทุนทรัพย์ก็พอเพียงอยู่แล้ว
ต้องใช้ความอดกลั้นและรอคอยสักเท่าไร
แต่ทั้งหมดนี้ เกิดจากความพยายามรักษาคำพูด
การรักษาสัจจะในการดำเนินธุรกิจ และการใช้ชีวิต
คุณอดิศรบอกว่า แตงโมไม่มีกลุ่มเป้าหมายว่า
เพศใด อายุเท่าไร อย่างชัดเจน
ท่านนิยามลูกค้าแตงโมอย่างง่าย ๆ ว่า
“เป็นคนอารมณ์ดี”
จากโพสต์ก่อนที่ดิฉันเขียนเกี่ยวกับแบรนด์แตงโม
ดิฉันดีใจที่หลาย ๆ ท่านประทับใจ
หลายท่านคิดถึงและอุดหนุนเสื้อแบรนด์นี้
ขอบพระคุณทุกท่านมาก ๆ นะคะ
ดิฉันขออนุญาตเสริมคุณอดิศรสักเล็กน้อยว่า
ลูกค้าแตงโม นอกจากอารมณ์ดีแล้ว
เป็นคนจิตใจดีอีกด้วยค่ะ ????

ปรกติ เวลาไปสัมภาษณ์ผู้บริหาร
ดิฉันจะคุยประมาณ 1-2 ชั่วโมง

แต่เมื่อวาน ดิฉันไปที่บริษัทแห่งหนึ่ง
ที่ลูกสาวเจ้าของเรียกธุรกิจบ้านตนเองว่า “บ้านคนทำเสื้อ”

หลังจากฟังผู้บริหารเล่าเรื่องธุรกิจ
ดิฉันตัดสินใจขอสัมภาษณ์พนักงานเพิ่มอีก 3 ท่าน

พนักงานท่านแรก บอกว่า “ทำงานแล้วรู้สึกมีค่า”

พนักงานท่านที่สอง คุณป้าวัย 60 ปี เล่าว่า
“ภูมิใจที่ทำ Google sheet เป็น
ได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ”
คุณป้าเล่าด้วยเสียงเครือว่า ดีใจที่ทำงานที่นี่
และซื้อบ้านให้แม่ได้ในที่สุด

พนักงานคนที่สามบอกว่า
“บางที เวลามีคนมาทาบทามให้ไปทำงานที่อื่น
ที่บ้านกลับเป็นฝ่ายห้ามผมไม่ให้ออกจากที่นี่
พ่อแม่เห็นผมอยู่ทีนี่แล้วมีความสุข”

บริษัทที่ดิฉันไปขอความรู้เมื่อวาน คือ
บริษัทสยามแฮนด์ ผู้ผลิตเสื้อแตงโม
เสื้อคุณภาพดี ด้วยฝีมือคนไทย

เมื่อคุณอดิศรและคุณอมรา พวงชมภู
สองผู้ก่อตั้งตัดสินใจสร้างโรงงานเย็บเสื้อของตนเอง
ทั้งคู่เลือกทำเลที่ดีที่สุด วิวดีที่สุด วิวริมน้ำ … ให้พนักงาน
ด้วยความปรารถนาที่จะสร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ดี

นอกจากนี้ ตั้งแต่วันแรกของการสร้างโรงงาน
ท่านตั้งใจดูแลชีวิตพนักงานให้ดีที่สุด
มีการสร้างหอพักพนักงานในโรงงาน เก็บค่าหอเพียงเดือนละ 500บาท
ค่าข้าว 3 มื้อเดือนละ 700 บาท รวมเป็น1,200 บาท
ที่เหลือ ให้พนักงานเก็บเงินไปซื้อที่ดิน กับทองคำ

สิ่งที่ดิฉันแปลกใจ คือ เมื่อคุยกับพนักงานทั้ง 3 ท่าน
ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า
ทำงานที่นี่แล้วมีความสุข อบอุ่น เหมือนพี่น้อง เหมือนอยู่บ้าน

ดิฉันคิดว่า ความอบอุ่นฉบับแตงโม
อาจจะเริ่มมาจาก “การให้”

เมื่อทั้งสองท่าน “ให้ที่พักอาศัย”
พนักงานได้อยู่ด้วยกัน
กินข้าวด้วยกัน ไปไหนมาไหนด้วยกัน
ก็เริ่มสนิทกัน
เมื่อสนิทกัน ก็ทำงานด้วยกันเป็นทีมได้ง่าย
ที่นี่จึงไม่ค่อยมีปัญหาพนักงานทะเลาะเบาะแว้งกันสักเท่าไร

นอกจากนี้ ทั้งสองท่านยัง “ให้วิธีคิด”
ทั้งคุณอดิศรและคุณอมรา จะสอน “วิธีการใช้ชีวิต” ให้กับพนักงาน

ป้าณี … พนักงานที่อยู่ตั้งแต่ช่วงแรกของการสร้างบริษัท
เล่าว่า ตอนนั่งทานข้าวด้วยกัน
คุณอดิศรสอนว่า เป็นผู้หญิง อย่าเคี้ยวข้าวเสียงดังนะ

เรื่องแบบนี้ ผู้บริหารต้องสอนเองเลยหรือ?

หรือหากพนักงานสูบบุหรี่ ท่านก็จะถามพนักงานว่า
“ถ้าสูบบุหรี่ อะไรในชีวิตจะหายไป?
…จักรยานที่เราจะซื้อให้ลูก ก็จะหายไปนะ”
สอนให้พนักงานงดเหล้า เลิกบุหรี่ให้ได้

ส่วนคุณอมรา ก็จะชวนพนักงานทำบุญด้วยกัน
ชวนไปปฏิบัติธรรม (แบบไม่บังคับ ใครสนใจก็ไป)
คอยฟังเรื่องราวปัญหาปรับทุกข์ต่าง ๆ ประดุจแม่หรือพี่

ตอนเดินไปห้องพิมพ์ลายเสื้อ
ดิฉันบอกคุณเซน (ลูกสาว) ว่า
ห้องนี้โปร่งโล่ง ลมพัดสบายจังเลย
คุณเซนเลยบอกว่า
“จริง ๆ แล้ว ห้องควรปิดหน้าต่าง เพื่อคุมสีให้เสถียรค่ะ
หากอุณหภูมิเปลี่ยน สีผ้าก็จะเปลี่ยน
แต่คุณพ่ออยากให้พี่ ๆ ไม่ร้อน มีอากาศถ่ายเท
เลยไปปรับ process การทำงานบางอย่าง
เพื่อให้พี่ ๆ สามารถเปิดหน้าต่างทำงานเย็น ๆ ได้แทน”

ไม่น่าแปลกใจที่พนักงานที่นี่ พูดถึงผู้บริหารด้วยความรู้สึกตื้นตัน

คุณอดิศรบอกว่า ท่านเย็บผ้าไม่ได้
จึงต้องฝากงานผลิตกับน้อง ๆ
ส่วนชีวิตน้อง ๆ ท่าน (พี่) จะดูแลเอง

ยิ่งให้ ยิ่งได้
ยิ่งดูแลพนักงานดี ยิ่งห่วงใยชีวิตพวกเขา
อยากให้พวกเขามีความสุข
พนักงานก็ยิ่งตั้งใจทำงาน
และยิ่งส่งความสุขต่อให้ลูกค้า

ทางเข้าบริษัท มีป้ายเขียนตัวโตว่า
“จากใจที่งดงาม
ผ่านมือที่ประณีต
เป็นสินค้าคุณภาพ
เพื่อผู้ใช้ทั่วโลก”

แต่เมื่อวาน ดิฉันไปที่บริษัทแห่งหนึ่ง
ที่ลูกสาวเจ้าของเรียกธุรกิจบ้านตนเองว่า “บ้านคนทำเสื้อ”

หลังจากฟังผู้บริหารเล่าเรื่องธุรกิจ
ดิฉันตัดสินใจขอสัมภาษณ์พนักงานเพิ่มอีก 3 ท่าน

พนักงานท่านแรก บอกว่า “ทำงานแล้วรู้สึกมีค่า”

พนักงานท่านที่สอง คุณป้าวัย 60 ปี เล่าว่า
“ภูมิใจที่ทำ Google sheet เป็น
ได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ”
คุณป้าเล่าด้วยเสียงเครือว่า ดีใจที่ทำงานที่นี่
และซื้อบ้านให้แม่ได้ในที่สุด

พนักงานคนที่สามบอกว่า
“บางที เวลามีคนมาทาบทามให้ไปทำงานที่อื่น
ที่บ้านกลับเป็นฝ่ายห้ามผมไม่ให้ออกจากที่นี่
พ่อแม่เห็นผมอยู่ทีนี่แล้วมีความสุข”

บริษัทที่ดิฉันไปขอความรู้เมื่อวาน คือ
บริษัทสยามแฮนด์ ผู้ผลิตเสื้อแตงโม
เสื้อคุณภาพดี ด้วยฝีมือคนไทย

เมื่อคุณอดิศรและคุณอมรา พวงชมภู
สองผู้ก่อตั้งตัดสินใจสร้างโรงงานเย็บเสื้อของตนเอง
ทั้งคู่เลือกทำเลที่ดีที่สุด วิวดีที่สุด วิวริมน้ำ … ให้พนักงาน
ด้วยความปรารถนาที่จะสร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ดี

นอกจากนี้ ตั้งแต่วันแรกของการสร้างโรงงาน
ท่านตั้งใจดูแลชีวิตพนักงานให้ดีที่สุด
มีการสร้างหอพักพนักงานในโรงงาน เก็บค่าหอเพียงเดือนละ 500บาท
ค่าข้าว 3 มื้อเดือนละ 700 บาท รวมเป็น1,200 บาท
ที่เหลือ ให้พนักงานเก็บเงินไปซื้อที่ดิน กับทองคำ

สิ่งที่ดิฉันแปลกใจ คือ เมื่อคุยกับพนักงานทั้ง 3 ท่าน
ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า
ทำงานที่นี่แล้วมีความสุข อบอุ่น เหมือนพี่น้อง เหมือนอยู่บ้าน

ดิฉันคิดว่า ความอบอุ่นฉบับแตงโม
อาจจะเริ่มมาจาก “การให้”

เมื่อทั้งสองท่าน “ให้ที่พักอาศัย”
พนักงานได้อยู่ด้วยกัน
กินข้าวด้วยกัน ไปไหนมาไหนด้วยกัน
ก็เริ่มสนิทกัน
เมื่อสนิทกัน ก็ทำงานด้วยกันเป็นทีมได้ง่าย
ที่นี่จึงไม่ค่อยมีปัญหาพนักงานทะเลาะเบาะแว้งกันสักเท่าไร

นอกจากนี้ ทั้งสองท่านยัง “ให้วิธีคิด”
ทั้งคุณอดิศรและคุณอมรา จะสอน “วิธีการใช้ชีวิต” ให้กับพนักงาน

ป้าณี … พนักงานที่อยู่ตั้งแต่ช่วงแรกของการสร้างบริษัท
เล่าว่า ตอนนั่งทานข้าวด้วยกัน
คุณอดิศรสอนว่า เป็นผู้หญิง อย่าเคี้ยวข้าวเสียงดังนะ

เรื่องแบบนี้ ผู้บริหารต้องสอนเองเลยหรือ?

หรือหากพนักงานสูบบุหรี่ ท่านก็จะถามพนักงานว่า
“ถ้าสูบบุหรี่ อะไรในชีวิตจะหายไป?
…จักรยานที่เราจะซื้อให้ลูก ก็จะหายไปนะ”
สอนให้พนักงานงดเหล้า เลิกบุหรี่ให้ได้

ส่วนคุณอมรา ก็จะชวนพนักงานทำบุญด้วยกัน
ชวนไปปฏิบัติธรรม (แบบไม่บังคับ ใครสนใจก็ไป)
คอยฟังเรื่องราวปัญหาปรับทุกข์ต่าง ๆ ประดุจแม่หรือพี่

ตอนเดินไปห้องพิมพ์ลายเสื้อ
ดิฉันบอกคุณเซน (ลูกสาว) ว่า
ห้องนี้โปร่งโล่ง ลมพัดสบายจังเลย
คุณเซนเลยบอกว่า
“จริง ๆ แล้ว ห้องควรปิดหน้าต่าง เพื่อคุมสีให้เสถียรค่ะ
หากอุณหภูมิเปลี่ยน สีผ้าก็จะเปลี่ยน
แต่คุณพ่ออยากให้พี่ ๆ ไม่ร้อน มีอากาศถ่ายเท
เลยไปปรับ process การทำงานบางอย่าง
เพื่อให้พี่ ๆ สามารถเปิดหน้าต่างทำงานเย็น ๆ ได้แทน”

ไม่น่าแปลกใจที่พนักงานที่นี่ พูดถึงผู้บริหารด้วยความรู้สึกตื้นตัน

คุณอดิศรบอกว่า ท่านเย็บผ้าไม่ได้
จึงต้องฝากงานผลิตกับน้อง ๆ
ส่วนชีวิตน้อง ๆ ท่าน (พี่) จะดูแลเอง

ยิ่งให้ ยิ่งได้
ยิ่งดูแลพนักงานดี ยิ่งห่วงใยชีวิตพวกเขา
อยากให้พวกเขามีความสุข
พนักงานก็ยิ่งตั้งใจทำงาน
และยิ่งส่งความสุขต่อให้ลูกค้า

ทางเข้าบริษัท มีป้ายเขียนตัวโตว่า
“จากใจที่งดงาม
ผ่านมือที่ประณีต
เป็นสินค้าคุณภาพ
เพื่อผู้ใช้ทั่วโลก”

Avatar photo
เจ้าของนามปากกา เกตุวดี กูรูผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดญี่ปุ่นที่เขียนบทความจากประสบการณ์ศึกษาและทำงานที่ญี่ปุ่นเกือบ 10 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักเขียนประจำเว็บไซต์กรุงศรี กูรูด้านการตลาดที่พร้อมให้ความรู้และเรื่องราวสไตล์แดนปลาดิบ "หมั่นถามตนเองเสมอว่า ในวันนี้เราได้สร้างประโยชน์อะไรให้ลูกค้า/สังคมแล้วหรือยัง"