มาดูวิธีที่ญี่ปุ่นขายข้าวสารกันค่ะ

จังหวัดนิกาตะและจังหวัดอากิตะ ในญี่ปุ่น

เป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงเรื่องข้าวสารอร่อยค่ะ
ข้าวจังหวัดนี้ เคี้ยวแล้วหนุบๆ ยิ่งเคี้ยวยิ่งหวาน

แต่ทางจังหวัดก็ไม่หยุดอยู่เฉยๆ พยายามปรับปรุง Packaging
จนล่าสุด ดิฉันไปเดินร้านกิฟท์ช้อปสุดเก๋แห่งหนึ่งที่โกเบ
แล้วทึ่งว่า ร้านเก๋ๆ แบบนี้ ยอมเอา “ข้าวสาร” มาขาย!

562780_537938842946137_184477068_n

ผู้ผลิตข้าวของทั้ง 2 จังหวัดแบ่งข้าวขายเป็นถุงเล็กๆ น่ารัก
ถุงละแค่ 1 กระป๋องข้าวเท่านั้นเอง ทานได้ 1-2 คน
คนอยากซื้อไปลองชิมก็ลองได้
คนอยากซื้อเป็นของฝาก ก็ซื้อได้ ไม่หนักเกินไป

แบ่งขายย่อยอย่างเดียวไม่พอ เขาทำ Packaging ให้น่ารัก
เป็นรูปเจ้าหญิง เจ้าชาย
แทนที่จะใช้ชื่อพันธ์เชยๆ ว่า “ข้าวรวงทอง”
เขาตั้งชื่อเป็นพันธุ์ “Milky Princess

การทำผลิตภัณฑ์ อย่านึกถึงแต่ตัวคุณสมบัติผลิตภัณฑ์อย่างเดียว
เช่น จะทำข้าว อย่ามองแค่ข้าว “อร่อย”
เราต้องสร้างอารมณ์บางอย่างให้เกิดขึ้นในใจผู้บริโภคด้วย

ในที่นี้ ผู้ผลิตญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการสร้างอารมณ์ “น่ารัก” “ตื่นเต้น” เมื่อผู้บริโภคเห็นหรือสัมผัสสินค้าเขา

ถามว่า แล้วจะสื่อสารอารมณ์เหล่านั้นได้อย่างไร?
ชื่อแบรนด์ ชื่อผลิตภัณฑ์ และPackaging ช่วยตรงนี้ได้ค่ะ

กรณีของข้าวสารญี่ปุ่นเจ้านี้
ชื่อแบรนด์หรือชื่อพันธุ์ข้าว คือ ‘Milky Princess’ (เจ้าหญิงน้ำนม)
สื่อให้นึกถึงเมล็ดข้าวที่ขาวผ่องละมุนละไมเมื่อหุงเสร็จ

Packaging ก็ทำให้เป็นรูปเจ้าหญิงเจ้าชาย

ลองนำไปปรับใช้กับธุรกิจของท่านดูนะคะ

Avatar photo
เจ้าของนามปากกา เกตุวดี กูรูผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดญี่ปุ่นที่เขียนบทความจากประสบการณ์ศึกษาและทำงานที่ญี่ปุ่นเกือบ 10 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักเขียนประจำเว็บไซต์กรุงศรี กูรูด้านการตลาดที่พร้อมให้ความรู้และเรื่องราวสไตล์แดนปลาดิบ "หมั่นถามตนเองเสมอว่า ในวันนี้เราได้สร้างประโยชน์อะไรให้ลูกค้า/สังคมแล้วหรือยัง"